นายหน้าประกันภัย คือผู้ที่แนะนำให้คำปรึกษา และดำเนินการให้มีการทำสัญญาประกันภัยระหว่างผู้เอาประกันภัยกับบริษัท รับประกันภัยโดยที่ผู้เอาประกันภัยเป็นผู้แต่งตั้งนายหน้าประกันภัย หน้าที่ของนายหน้าประกันภัยมีอะไรบ้าง
- คัดสรรบริษัทประกันภัยที่ได้มาตรฐานและมั่นคง ทั้งในด้านความคุ้มครองและการชดเชยค่าสินไหม
- จัดการเงื่อนไขการประกันภัยให้คุ้มครองความเสี่ยงภัยของผู้ เอาประกันภัย และ/หรือตามประสงค์ของผู้เอาประกันภัย
- พิจารณาและต่อรองเบี้ยประกันภัยที่เหมาะสมกับสภาพความเสี่ยงภัย
- ประสานงานกับบริษัทรับประกันภัย เมื่อเกิดภัยขึ้น เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยได้รับการชดเชยค่าสินใหมทดแทน ตามความคุ้มครองของกรมธรรม์
ประโยชน์ที่ได้รับจากนายหน้าประกันภัย
- เปรียบเทียบข้อเสนอจากบริษัทประกันภัยเพื่อให้ได้ความคุ้มครองที่ดี และเบี้ยประกันภัยที่เหมาะสม
- คัดสรรบริษัทประกันภัยที่ไม่มีปัญหาเรื่องการจ่ายค่าสินไหมทดแทน
- คัดสรรบริษัทประกันภัยที่มีเครือข่ายให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศ (ถ้าจำเป็นและสมเหตุผล)
- ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจัดหา และจัดการประกันภัย
- บริการให้คำแนะนำด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงภัย (Risk Management)
- ได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่รวดเร็ว และเป็นธรรม
นายหน้าประกันภัยต่างจากตัวแทนประกันภัยอย่างไร
ตัวแทนประกันภัย |
นายหน้าประกันภัย |
1. |
คือบุคคลที่บริษัทประกันภัยมอบหมายให้ ชักชวนผู้สนใจทำการประกันภัยกับบริษัทประกันภัย ตัวแทนประกันภัยไม่สามารถทำงานให้กับบริษัทประกันภัยได้มากกว่า 1 บริษัท |
1. |
เป็นบุคคลหรือนิติบุคคลที่ชื้ช่อง หรือจัดการให้ผู้สนใจทำการประกันภัยกับบริษัทประกันภัยรายใดรายหนึ่ง หรือหลายรายก็ได้ นายหน้าประกันภัยไม่ได้ถูกแต่งตั้งโดยบริษัทประกันภัย |
2. |
กรรมการ พนักงาน หรือลูกจ้างในบริษัทประกันภัยสามารถรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนได้ |
2. |
กรรมการ พนักงาน หรือลูกจ้างในบริษัทประกันภัยไม่สามารถขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันภัยได้ |
3. |
ไม่จำเป็นต้องมีสำนักงาน |
3. |
ในกรณีที่เป็นนายหน้านิติบุคคลต้องมีสำนักงานที่พร้อมให้ตรวจสอบได้ และมีระบบงานที่เชื่อถือได้ |
4. |
ไม่ต้องจัดทำสมุดทะเบียน และสมุดบัญชีเกี่ยวกับธุรกิจของตัวแทนประกันภัย |
4. |
ต้องจัดทำสมุดทะเบียน และสมุดบัญชีเกี่ยวกับธุรกิจนายหน้าประกันภัย เพื่อการตรวจสอบของคปภ. |
ใครใช้บริการของนายหน้าประกันภัยบ้าง
ทุกท่านที่มีประสงค์จะซื้อประกันภัยไม่ว่าจะเป็นประกันวินาศภัย หรือประกันชีวิตสามารถใช้บริการของนายหน้าประกันภัยได้ บริษัทที่ดำเนินธุรกิจประเภทต่างๆ ส่วนใหญ่จะรู้จักและใช้บริการนายหน้าประกันภัยที่เป็นสมาชิกของสมาคมฯ มาโดยตลอด อาทิเช่น การประกันภัยสำหรับอุตสาหกรรมพลังงาน การก่อสร้าง (โรงงาน อาคารพาณิชย์ อาคารสำนักงาน อาคารที่พักอาศัย) การขนส่ง ภาคการเงินและบริการ แม้กระทั่งโครงการของหน่วยงานรัฐ จะยิ่งอาศัยนายหน้าประกันภัยในการจัดหาความคุ้มครอง ที่เหมาะสมที่สุดมาให้ และดูแลด้านการบริหารความเสี่ยงจนโครงการเสร็จสิ้นเรียบร้อย
สำหรับบุคคลธรรมดา ประชาชนจำนวนมากจะใช้บริการของนายหน้าประกันภัยเมื่อต้องการความคุ้มครอง ด้านการประกันภัยรถยนต์ ที่อยู่อาศัย อุบัติเหตุและสุขภาพ
ใครควบคุมดูแลนายหน้าประกันภัย
ผู้ที่ทำงานเป็นนายหน้าประกันภัย ทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลจะต้องได้รับใบอนุญาตจากสำนักงานคณะ กรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ. หรือ กรมการประกันภัยเดิม) ก่อนจึงจะปฏิบัติงานได้ นอกจากนี้ผู้ที่เป็นสมาชิกของสมาคมนายหน้าประกันภัยไทยยังต้องปฏิบัติตาม หลักจรรยาบรรณของสมาคมฯ อย่างเคร่งครัด