ชวนคุณร่วมทำบุญสร้างศาลาอเนกประสงค์และอื่นๆ
ในขณะที่ยังเรามีชีวิตอยู่บนโลกนี้ เราทุกคนต่างก็มุ่งแสวงหาทรัพย์สมบัติมาไว้ในครอบครอง ยึดเอาไว้บ้าง ถือเอาไว้บ้าง ราวกับว่าทรัพย์สมบัติเหล่านั้น มันเป็นของๆเราจริง ทั้งที่เมื่อถึงเวลาเราก็มีเกิด มีแก่ มีเจ็บ มีตายจากโลกนี้ไป นั่นคือ ... เกิดมาเท่าไรก็ตายเท่านั้น .. ไม่เห็นว่าเรา ใครๆจะสามารถเอาอะไรติดตัวไปได้สักชิ้นเดียว แม้กระทั่งตัวเราเองก็กลับคืนสู่ธรรมชาติ เป็นธาตุดินน้ำลมไฟ ไม่เชื่อลองคลิกดูน่ะ รู้สึกเกิดสติ เตือนใจว่า...อย่าประมาทกัน หรือไม่? หรือ คลิกดูอีก รู้สึกหยดหยอง...เตือนสติไม่ให้ประมาท หรือไม่? จึงสามารถสรุปเป็นสัจธรรมได้ว่า "ไม่มีอะไรเป็นของเรา แม้กระทั่งตัวเรา"
แต่มีสิ่งหนึ่งที่จะติดตามเราไปทุกที่ทุกเวลา {Anytime, Anywhere} แน่นอน ๑๐๐% สิ่งนั้นก็คือ คุณ "กรรม" { Action ; Karma } เป็นคำกลางๆ (ไม่ใช่เวรกรรม) กรรม คือ การกระทำ มี ๒ ประเภท ทำกรรมดีก็เรียกว่า กุศลกรรมหรือความดี ทำกรรมชั่วก็เรียกว่า อกุศลกรรมหรือความชั่ว กรรมดีหรือกรรมชั่วจำแนกประเภทด้วยเจตนา ทางกาย ทางวาจา ทางใจ พวกเราเองถือว่าเป็น ปถุชน (แปลเป็นไทยอีกทีว่า คนธรรมดาที่หนาด้วยไปกิเลส, ผู้มีกิเลสหนา : ที่มา วิกิพีเดีย) จะมีการกระทำทั้งที่เป็นฝ่ายดีและไม่ดีก็ตาม ย่อมตอบสนองแก่ผู้กระทำ ไม่เร็วก็ช้า เวลาใดเวลาหนึ่ง ตัวชี้วัดก็คือ เมื่อใดช่วงเวลาที่เรามีความสุขใจ บริโภคปัจจัย ๔ อุดมสมบูรณ์ หรือสุขภาพดี เป็นต้น นั่นคือ ผลจากการที่เรา กระทำเหตุไว้ดี จึงได้รับ ผลที่ดีเช่นกัน หรือเรียกว่า ความสุข และในทางตรงกันข้าม เมื่อใดเราทำเหตุไม่ดีผลก็ไม่ดีส่งผล(วิบาก) เป็นความทุกข์ทางกาย ทุกข์ใจเป็นไปตามเหตุและปัจจัยที่เราเคยกระทำไว้ นั่นคือ ใครทำอย่างไร ก็ได้รับผลอย่างนั้น ...
ในเมื่อไม่มีใครสามารถเอาอะไรติดตัวไปได้เลย จึงควรจะฝากทรัพย์สมบัตินี้ไว้ให้กับพุทธศาสนา ถือเป็นเนื้อนาบุญอันสูงสุด, ตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ (พระอรหันต์ในบ้าน), ให้ผู้ตกทุกข์ได้ยาก, สัตว์เลี้ยง ฯลฯ แต่จะได้รับผลของทานมากน้อย ตามคุณธรรมผู้รับทาน และคุณสมบัติอื่นๆ ทั้งนี้ เพื่อแปลงเป็น "ทรัพย์ภายใน" ให้เราใช้ต่อไปในภพชาติหน้านั่นเอง
ทาน ที่จะให้ผลย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังนี้คือ ๑. มีศรัทธาอันถูกต้องในการสร้างทานนั้น ๒. มีเจตนา ๓ ในการทำทานนั้น คือ ๑. เจตนาก่อนทำ (ปุพพเจตนา) คือ การตั้งใจไว้ก่อนว่าจะทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ พร้อมทั้งมีฉันทะความพอใจใคร่ที่จะทำ หรือการตระเตรียมที่จะทำบุญนั้นๆ ๒. เจตนาขณะที่กำลังทำ (มุญจนเจตนา) คือ การตั้งใจในขณะที่กำลังทำ โดยคิดว่าเป็นลาภของตนที่มีโอกาสได้ทำบุญนี้ ๓. เจตนาหลังทำ (อปรเจตนา) คือ การหวนนึกถึงบุญกรรมนั้น ด้วยความปลาบปลื้ม เจตนาหลังทำนี้ยังแยกได้เป็น ๒ อย่าง คือ หลังจากทำเสร็จใหม่ๆ (อปรเจตนา) อย่างหนึ่ง และหลังจากที่ทำผ่านไปแล้วเป็นเวลานาน (อปราปรเจตนา) เช่น ๑ วัน ๑ เดือน ๑ ปี เป็นต้น อย่างหนึ่ง การทำบุญที่มีเจตนาครบทั้ง ๓ กาลนี้ย่อมได้บุญเต็มเปี่ยม ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ก่อนให้ก็มีใจยินดี ขณะกำลังให้ก็มีใจเลื่อมใส หลังจากให้แล้วก็มีใจเบิกบาน นี้เป็นความถึงพร้อมแห่งการให้ทาน ๓. มีจิตเป็นมหากุศลดวงใดดวงหนึ่งใน ๘ ดวงในเจตนา ๔ ๔. องค์ทานที่จะทำนั้นต้องได้มาด้วยความบริสุทธิ์ ๕. องค์ทานนั้นต้องมีประโยชน์กับปฏิคาหกหรือผู้รับ ๖. ปฏิคาหกหรือผู้รับต้องเป็นบุคคลที่สมควร (มีคุณธรรมสูงสุด คืออริยบุคคล ต่ำสุด คือผู้มีนิจศีล) อันได้แก่ วัดจากแดง เป็นต้น
ประโยชน์ {หรืออานิสงส์} การให้ทาน ในพระพุทธศาสนา
ทาน แปลว่า การให้ จัดเป็นบุญเป็นกุศล เป็นความดีอย่างหนึ่ง เพื่อลดความตระหนี่ถี่เหนียว มีการเข้าใจผิดว่า ให้แก่พ่อแม่ ครูอาจารย์ พระ เป็นบุญ ให้แก่สัตว์ คนด้อยโอกาส เป็นทาน
ไม่ว่าจะให้ ตั้งแต่สัตว์เล็กๆที่อาศัยในพื้นดิน อากาศ
เป็นต้น ถึง พระพุทธเจ้า ก็ถือว่าเป็นการให้ทานเช่นกัน แต่ต่างกันที่ คุณธรรมของผู้รับ และขึ้นอยู่กับองค์ประกอบอย่างอื่น ซึ่งจะกล่าวในครั้งต่อไป
จึงส่งผลให้ประโยชน์ที่ได้รับต่างกัน และคิดต่อไปว่า ทานต่ำกว่าบุญ แท้จริงแล้ว บุญ คือ ความสุข บาปให้ผล เป็นความทุกข์ ความเดือดร้อนนั่นเอง
การให้ทาน เพื่อเหตุ ๗ ประการ ประโยชน์ที่ได้รับเป็นอย่างไร ???
เราให้ทานเพื่ออะไร ??? ข้อ ๑. เพื่อชาติหน้า จะได้รับผล ข้อ ๒. เป็นของดี ตอบแทนบุญคุณ บูชาคุณ ข้อ ๓. ตามบรรพบุรุษเคยทำมา ข้อ ๔. บูชาคุณพระสงฆ์ ผู้หุงหากินไม่ได้, เมตตาอนุเคราะห์ คนยากจน สัตว์ ข้อ ๕. ให้ทาน ตามที่เคยทำกันมา ข้อ ๖. มีความสุข ข้อ ๗. ลดความตระหนี่ถี่เหนียว ชำระกิเลส ประโยชน์ได้รับ จะเกิดในเทวโลก ไม่ต้องมาเกิดอีก *** จัดเป็นทานที่มีผลและประโยชน์มาก ***
ส่วนประโยชน์ที่ได้รับจากข้อ ๑-๖ เกิดในเทวโลก แล้วกลับมาเกิดในโลกนี้อีก นั่นคือ การเวียนว่ายตายเกิด
วันนี้!!! คุณทำทานเพื่อชำระลดกิเลส เพื่อเป็นปัจจัยถึงพระนิพพาน หรือยัง ??? หรือ เพื่อเวียนว่ายตายเกิด ใน ๓๑ ภพภูมิ {หรือ ๓๑ จังหวัด} ก็เลือกได้ตามอัธยาศัย เนื่องจากเป็นเรื่องส่วนบุคคล
_/|_ สรุปเนื้อหาบางส่วนจาก ทานสูตร
ผลของทาน ๑. ปฏิสนธิกาล คือ ขณะเดียวที่ปฏิสนธิจิตเกิด มีกามสุคติภูมิ ได้แก่ ความเป็นมนุษย์และเทวดา ๕ ชั้น(เว้นชั้นดุสิต) ๒. ปวัตติกาล คือ ขณะหลังจากที่ปฏิสนธิจิตดับไปแล้ว มีกินมีใช้ด้วยความอุดมสมบูรณ์ทานที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ดูเพิ่มเติมจากท่านอ.ประณีต ก้องสมุทร คลิกที่
บรรยายกาศวัดจากแดง คลิกที่ และ แผนที่วัดจากแดง คลิกที่
วัดจากแดง เป็นวัดราษฏร์ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งขวา เลขที่ 16 หมู่ 6 ซอย 10 (ซอยจากแดง) ถนนเพชรหึงษ์ ตำบลทรงคนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ 10130
- ขอเชิญสาธุชนร่วมสวดมนต์ทำวัตรแปล สาธยายพระปริตร เจริญจิตภาวนา แผ่เมตตา ฟังธรรมบรรยาย ร่วมกับคณะสงฆ์วัดจากแดง ณ ศาลาทำบุญ ทุกวันอาทิตย์และวันพระ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๐.๔๕ น. และ ๑๒.๑๕ - ๑๓.๐๐ น. ณ วิหารหลวงพ่อหิน ทุกวัน เวลา ๑๗.๓๐ - ๑๙.๐๐ น.
- ขอเชิญร่วมบูชาพระเจดีย์ ทุกวันอาทิตย์และวันพระ เพื่อร่วมสืบสานประเพณีอันดีงามของบัณฑิตทั้งหลาย เวลา ๑๙.๐๐ - ๑๙.๔๐ น. ถือศีล 8 ในวันพระ
- ขอเชิญรับฟังรายการธรรมะทางวิทยุชุมชน เพื่อพระพุทธศาสนาและสังคม วัดจากแดง FM 96.75 MHz ออกอากาศทุกวัน เวลา ๐๔:๐๐ - ๒๓:๐๐ น. เฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/radiobodhiyalai
วัดจากแดงกำลังทำอะไร
|
วัดจากแดง ในปัจจุบันถือเป็นวัดที่มีกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนาอย่างเข้มแข็ง ทั้งในด้านปริยัติและการปฏิบัติ ทางด้านพระปริยัตินั้น วัดจากแดงมีหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาบาฬีอย่างเข้มแข็ง ดังจะเห็นได้จากสถิติของผลการสอบหลักสูตรบาฬี สนามหลวง ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นักเรียนของวัดจากแดงสามารถสอบไล่ได้เป็นอันดับ 1 ของจังหวัดสมุทรปราการ เป็นอันดับ 8 ของภาค สองปีซ้อน จนทำให้ได้รับการยกย่องให้เป็น สำนักศาสนศึกษาดีเด่นของจังหวัดสมุทรปราการ |
ปัจจุบันการเรียนการสอนทางด้านพระปริยัติของวัดจากแดง ก็ยังคงเป็นไปอย่างเข้มข้นและเข้มแข็ง ปัจจุบันมรพระภิกษุสามเณรศึกษาเล่าเรียนอยู่ภายในวัดจากแดงมากถึง 70 กว่ารูป และมีแนวโน้มมากขึ้นต่อไป นอกจากหลักสูตรการเรียนการสอนของพระภิกษุสามเณรแล้ว วัดจากแดงได้เปิดหลักสูตรการเรียนสำหรับประชาชนขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพระอภืธรรม พระบาฬีสำหรับประชาชน และหลักสูตรธรรมศึกษาสำหรับประชาชน |
ทางด้านการปฏิบัติ วัดจากแดงได้จัดให้มีการสวดมนต์ทำวัตรเย็น เจริญสมาธิภาวนาสำหรับประชาชนขึ้นในทุกวัน เวลา 17:30 - 19:00 น. และจัดให้มีกิจกรรมปฏิบัติธรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นมาฆบูชา วันวิสาขาบูชา วันอาสาฬหบูชา วันแม่ วันพ่อ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ต่างๆ โดยได้รับความสนใจจากพุทธศาสนิกชนเป็นจำนวนมาก |
ทางด้านการเผยแพร่ นอกจากจะมีการเรียนการสอนตามปกติแล้ว วัดจากแดงได้จัดให้มีวิทยุชุมชนเพื่อพระพุทธศาสนา ทางคลื่นวิทยุ FM 95.75 MHz โดยได้รับความอุปถัมภ์จากทางญาติโยมผู้ศรัทธาจำนวนมาก เฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/radiobodhiyalai |
เกียรติคุณที่ได้รับ |
ปีพุทธศักราช 2552 |
- ได้รับโล่เกียรติคุณวัดวิถีพุทธเฉลิมพระเกียรติ |
- ได้รับการประกาศให้เป็นสำนักเรียนปริยัติธรรม แผนกบาฬี |
- ได้รับโล่เกียรติคุณจากมหาวิทยาลัยพุทธนานาชาติ เมืองสกาย ประเทศพม่า |
|
ปีพุทธศักราช 2553 |
- ได้รับเลือกให้เป็นวัดพัฒนาดีเด่น อันดับ 1 ของจังหวัดสมุทรปราการ (จาก 123 วัด) |
- ได้รับรางวัลสำนักศาสนศึกษาดีเด่น อันดับ 1 ของจังหวัดสมุทปราการ |
- ได้รับโล่เกียรติคุณ "วัดปลอดเหล้า งานบุญในวัด" จากผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ |
|
ปีพุทธศักราช 2554 |
- ได้รับโล่เกียรติคุณกิจการงานพระพุทธศาสนาอุปถัมถ์จากสำนักข่าวพระพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรม |
- ได้รับรางวัลพุทธคุณูปการ ระดับกาญจนา |
- ได้รับรางวัลสำนักศาสนศึกษาดีเด่น อันดับ 1 ของจังหวัดสมุทรปราการ |
- ได้รับเลือกให้เป็นวัดส่งเสริมสุขภาพดีเด่น ระดับจังหวัด (กำลังอยู่ในขั้นตอนการประกวดระดับประเทศ)
|
| |